วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 5

1.ให้นศ.ศึกษาgadget ต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานในgadget นั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร
2.ให้นศ.สร้างgadget เพิ่ม 1 อย่างจากที่ได้ศึกษาจากข้อ 1
   
    นำเสนองานในชั้นเรียนคราวหน้า เพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน

เข้าไปดูที่รูป Gadget



















เลือกหัวข้อที่ชื่อว่า โลโก้



















เลือโลโก้ Blogger























ผลที่ได้ออกมา











วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย



1.Microsoft Excel


ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็น ซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า คล้ายการใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ข้อความบนกระดาษ แต่ต่างกันที่ตัวอักษรที่พิมพ์หรือป้อนเข้าทางแผงแป้นอักขระจะเข้าไปเก็บ อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย        ภายใต้ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ผู้ใช้สามารถกำหนดปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ เช่น การกำหนดเส้นกั้นหน้าและกั้นหลัง กั้นบนและกั้นล่าง เมื่อมีการแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้หลายชุดตามที่ต้องการ เอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะมีคุณภาพดีไม่มีรอยเปื้อนจากการแก้ไขดัดแปลง

















ซอฟต์แวร์ประมวลคำ มีคุณสมบัติเด่นกว่าการเตรียมเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหลายประการ อาจจะสรุปได้ดังนี้
(1) สามารถควบคุมสั่งจัดวางรูปแบบเอกสารได้ใหม่ตามต้องการ โดยจะพิมพ์ผลลัพธ์ออกมาตามรูปแบบที่กำหนด เช่น การกำหนดจำนวนตัวอักษรในแต่ละบรรทัด การกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งบรรทัด เป็นต้น
(2) ช่วยควบคุมให้แก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่ม คือสามารถสั่งทำการลบ เคลื่อนย้าย หรือสำเนาข้อความเป็นคำ ประโยคหรือย่อน้า จากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่นของเอกสารได้ง่าย
(3) สามารถควบคุมการแสดงตัวอักษรของข้อความ อาจเป็นตัวเข้ม ตัวหนา ตัวเอียงและขีดเส้นใต้ที่ตำแหน่งต่างๆได้อย่างอิสระ การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์จะได้ตัวอักษรสวยงามตามต้องการ
(4) เอกสารที่จัดเตรียมไว้สามารถทำการจัดเก็บลงในแผ่นบันทึก ในรูปของแฟ้มข้อมูล และสามารถเรียกแฟ้มนั้นจากแผ่นบันทึกกลับมาลงหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการแก้ไขข้อความบนจอภาพได้ทันที
(5) มีคำสั่งในการเรียกค้นคำหรือข้อความที่มีอยู่ในเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น นอกจากการเรียกค้นแล้ว ยังสามารถสั่งให้มีการแทนที่คำหรือข้อความเดิมด้วยข้อความใหม่ได้ทันทีอย่าง อัตโนมัติ เช่นการเปลี่ยนข้อความจาก “คอมพิวเตอร์” เป็น “ไมโครคอมพิวเตอร์” ในทุกๆ แห่งที่พบในเอกสารนั้น เป็นต้น
(6) มีคุณสมบัติให้สามารถทำการเชื่อมแฟ้มข้อความที่อาจเป็นจดหมายกับแฟ้มข้อมูล ที่เป็นชื่อหรือที่อยู่บริษัท เพื่อทำการพิมพ์เอกสารลักษณะแบบเดียวกันหลายๆ ชุดพร้อมกัน เช่น การส่งจดหมายเชิญประชุมถึงผู้จัดการบริษัทต่างๆ จำนวนมาก โดยเนื้อหาของข้อความในจดหมายทุกฉบับเหมือนกัน ต่างกันที่ชื่อบริษัท ซอฟต์แวร์ประมวลคำจะพิมพ์จดหมายให้เองครบทุกฉบับด้วยการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเท่านั้นลักษณะพิเศษที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาให้ทำงานได้มากขึ้น ใช้งานได้สะดวกขึ้น ซอฟต์แวร์ประมวลคำยุคใหม่ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมาก คุณลักษณะที่เพิ่มขึ้นได้แก่
(1) การช่วยงานด้านการตรวจสอบตัวสะกด โดยเปรียบเทียบข้อมูลกับพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในรูปของแฟ้ม ถ้ามีการสะกดผิดก็จะมีคำที่คาดว่าถูกต้องแสดงให้เลือกพิจารณานำมาแทนที่
(2) การแสดงความหมายของคำต่างๆ ที่มีเก็บในพจนานุกรมเรียบร้อยแล้ว และการเลือกคำพ้องความหมายมาแทนที่คำเดิม
(3) การสร้างข้อมูลในรูปแบบตารางได้ง่ายและสะดวก
(4) การนำรูปภาพมาผสมรวมกับข้อมูลที่มีแต่ตัวอักษร โดยจะทำงานอยู่ในภาวะกราฟิก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ เราสามารถเลือกชุดแบบตัวอักษรได้หลายแบบ
(5) การช่วยงานด้านการตรวจสอบรูปแบบหรือรูปแบบของประโยค ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ทางภาษา และวิเคราะห์ความน่าอ่านหรือความสละสลวยของเอกสาร วิธีการของการตรวจสอบนี้จะใช้หลักวิชาทางปัญญาประดิษฐ์ว่าด้วยกฎและข้อเท็จจริงของภาษาศาสตร์ ซึ่งรูปแบบของประโยคที่โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ได้ในปัจจุบัน จะยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะที่ใช้งานในวงการบริหารธุรกิจเท่านั้น


2.Flash





การสร้างสื่อการเรียนรู้ สื่อนำเสนอ หรืองานออกแบบต่างๆ ย่อมจะหนีไม่พ้นการออกแบบ สร้างสรรค์งานกราฟิก หากสามารถสร้างงาน ออกแบบงานกราฟิกด้วยตนเอง คงจะสร้างความ
ภูมิใจได้มาก แต่ปัญหาใหญ่ของการสร้างสรรค์งานกราฟิกของหลายๆ ท่านก็คือ “วาดภาพไม่เป็นหรือ “สร้างผลงานไม่ได้” แต่ด้วยความสามารถของโปรแกรม Macromedia Flashเครื่องมือช่วยสร้างสรรค์งานกราฟิกที่ง่ายในการเรียนรู้
และประยุกต์ใช้งาน พร้อมๆ กับแนวทางการวาดภาพจากคู่มือฉบับนี้ จะลืมคำว่า “วาดยาก” ไปเลย เนื่องจาก Flash เป็นซอฟต์แวร์สร้างสรรค์งานกราฟิกในฟอร์แมต Vector ที่ภาพกราฟิกทุกภาพประกอบจากเส้นโครงร่างที่ทำให้การปรับแต่ง แก้ไข หรือ
ออกแบบภาพ ทำได้ง่ายด้วยเทคนิค “ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง
Macromedia Flash CS3 เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากค่าย Macromedia ที่พัฒนามาเพื่อสนับสนุนการสร้างงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Flash มีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงานหลากหลายรูปแบบตลอดจนชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งที่เรียกว่า Flash Action Script ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถคอมไพล์ (Compile) เป็นโปรแกรมใช้งาน (Application Program) เช่น การทำเป็น e-Cardเพื่อแนบไปพร้อมกับ e-Mail ในโอกาสต่างๆ
การเรียกใช้โปรแกรม Flash

การเรียกใช้งานโปรแกรม Flash มีหลักการคล้ายๆ กับการเรียกโปรแกรมทั่วๆ ไปของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเริ่มจากการคลิกปุ่ม Start จากนั้นเลื่อนไปคลิกที่รายการ
Program, Adobe Flash CS3 Professional รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ซึ่งมีโหมดการทำงานให้เลือกได้หลายลักษณะได้แก่• การเปิดไฟล์จากคำสั่ง Open a Recent Item
• การสร้างงานผลงานจากรายการ Create New
• การสร้างผลงานแม่แบบ Create from Template




3.Google Earth 





เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการ ดูภาพถ่ายองทุกมุมโลก จากดาวเทียม ซึ่งมีความละเอียดสูงมาก สามารถ ขยายภาพ จากโลกทั้งใบ ไปสู้ประเทศ และลงไปจนถึงวัตถุเล็ก เช่น ถนน ตรอก ซอกซอย รถยนต์ บ้านคน
Google Earth ยังใช้งานง่ายและ สะดวกในการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนได้ จึงเหมาะสำหรับ อาจารย์ และ นักเรียน ที่จะใช้ในการสอนและการเรียนในวิชาต่าง ๆ
*Google Earth จะใช้งานได้ต่อเมื่อ เครื่องได้ทำการ เชื่อมต่อ Internet อยู่เท่านั้น เพราะรูปถ่ายจากดาวเทียมต่างๆ จะ ถูกส่งมาให้เรา ทาง Internet ในขณะที่เราเลือกดูส่วนต่างๆของโลก

Download Google Earth ได้ที่ http://earth.google.com/
*คลิกที่ปุ่ม I'm good. Download Google Earth.exe หลังจาก Download เสร็จเรียบร้อย ให้ทำการติดตั้งตัวโปรแกรม
เมื่อติดตั้งเสร็จจะมี Icon Google Earth  ที่ Desktop


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษา เขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษา 1 ระบบ ตามหลัก IPO ในแต่ละองค์ประกอบ ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆ มาด้วย
Input คือ
-ครูและบุคลากรทางการศึกษา-หนังสือเรียนวิชาการเมืองการปกครองของไทย
-สือการการสอนของวิชาการเมืองการปกครองของไทย



Process คือ
-แบบฝึกหัดในรายวิชาการเมืองการปกครองของไทย
-นักเรียน นักศึกษา สามารถอธิบายรายวิชาที่ตนเองเรียนได้
-กิจกรรมที่คุณครู หรืออาจารย์จักขึ้นขณะที่เรียน
-เนื้อหาวิชาการปกครองของไทย อาจจะมีดังตัวอย่างนี้

การเมืองการปกครองของไทย 
การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย ลักษณะการปกครอง แบ่งเป็น 2แบบ คือ

          แบบพ่อปกครองลูก ช่วงต้นสมัยสุโขทัย เรียกผู้นำว่าพ่อขุน” ปกครองประชาชนด้วยความห่วงใยและมีเมตตา ต่อประชาชนเปรียบเสมือนพ่อกับลูก ฐานะของกษัตริย์เป็นปิตุราชา

          แบบธรรมราชา ในช่วงสุโขทัยตอนปลายการปกครองใช้ธรรมะเนื่องจากได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา กษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม โดยประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมีสิทธิเสรีภาพเหมือนกัน เช่น เสรีภาพในการประกอบอาชีพ



การจัดระเบียบการปกครองสมัยสุโขทัย 
1. เมืองหลวง คือ สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง
2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองหลวง มี 4ทิศ โดยมีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่สะสมเสบียงอาหาร และป้องกันข้าศึกศัตรู เมืองหน้าด่านทั้ง 4 ได้แก่

ทิศเหนือ คือ ศรีสัชนาลัย
ทิศใต้ คือ สระหลวง (พิจิตร)
ทิศตะวันออก คือ สองแคว (พิษณุโลก)
ทิศตะวันตก คือ ชากังราว (กำแพงเพชร)

3. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอก มีเจ้าเมืองหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง
4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยยอมสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการให้ และมีเจ้าเมืองเดิมปกครอง

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา 
ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา
2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา 
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น

ราชธานี
หัวเมืองชั้นใน
เมืองลูกหลวง
หัวเมืองชั้นนอก
เมืองประเทศราช

ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น

ราชธานี
หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล ,บ้าน

การปกครองราชธานี 
การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่

กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี
กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ
กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้


การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูป ใหม่เป็น 
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี

สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ 
สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร
สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน และยังได้กำหนดกำหมายขึ้น คือ
กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน
กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ 
ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้

1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน
4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส
5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน

การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 
1. การเลิกทาสและไพร่
2. การปฏิรูปทางการศึกษา
3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร
4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน
5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง
6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม
8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 
1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา
2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และจัดตั้ง

หน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 
1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง
2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้
3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ
4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง
5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์
6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง
8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา
9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร
10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา
12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค
มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง
ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่บ้านเอง

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง
ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ

การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6 
1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา
3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล
5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 
        การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน

หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร
ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

หลักการปกครองของคณะราษฎร 
1. รักษาความเป็นเอกราช
2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ
3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี
4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน
5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ
6. ให้ประชาชนมีการศึกษา

การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก 
1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง
2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาย่อยครั้ง
3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง
4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น


Output คือ
-นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครองของไทย จะได้ความรู้
-ผลคะแนนของนักเรียน นักศึกษา

ที่มา 
การเมืองการปกครองของไทย http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/human_society/16.html


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นระบบ System หรือไม่ ตามระบบ  I P O

การผลิตน้ำตาลทรายจัดได้ว่าเป็น System เพราะเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีทั้งการ นำเข้า ( Input ) ประมวลผล ( Process ) แล้วและ นำออก ( Output )

โดยอย่างแรกคือการนำเข้า ( Input ) 

1.การนำอ้อยมาปลูก
2.การดูแลรดน้ำอ้อย
3.เก็บเกี่ยวอ้อยเมื่อโตเต็มที่แล้ว
4.การนำอ้อยที่เก็บเกี่ยวไปส่งในโรงงาน

ต่อมาคือ การนำอ้อยมาผ่านกระบวนการการทำน้ำตาลทราย ( Process )


1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
         ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :
        น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :
       น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :
      น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
       แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ


กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้

6.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
         นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
7.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
         น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8.
การเคี่ยว (Crystallization) :
        น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
9.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
       แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
10.
การอบ (Drying) :



       ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก 


และขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การส่งออกน้ำตาลทรายไปสู่ตลาด โดยเริ่มการบรรจุ จนถึง การนำผลิตภัณฑ์ส่งออก ( Output )

1. พอได้น้ำตาลทรายที่ต้องการ
2. นำมาบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์
3. ส่งออกไปสู่ตลาด และ ร้านค้าต่างๆ
4. และเมื่อทำน้ำตาล ก็จะมีกากน้ำตาล ก็จะมีคนรับซื้อไป ทำน้ำยา EM และทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย


http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html